คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย
จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระสงฆ์
4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
5. สุภาพชนทั่วไป
คำราชาศัพท์แบ่งได้ 6 หมวด คือ
1. หมวดร่างกาย
2. หมวดเครือญาติ
3. หมวดเครื่องใช้
4. หมวดกริยา
5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
1. พระมหากษัตริย์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระสงฆ์
4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
5. สุภาพชนทั่วไป
คำราชาศัพท์แบ่งได้ 6 หมวด คือ
1. หมวดร่างกาย
2. หมวดเครือญาติ
3. หมวดเครื่องใช้
4. หมวดกริยา
5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
หมวดร่างกาย
หมวดเครือญาติ


หมวดเครื่องใช้


หมวดคำกริยา


หมวดสรรพนาม
หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
คำสุภาพ
คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน


ข้อสังเกต
เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์
คำนาม
1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ
ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมวงศานุวงศ์
2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง
พระราชลัญจกร
พระราชประวัติ
พระราชดำริ
พระราชทรัพย์
3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง
พระเก้าอี้
พระชะตา
พระโรค
พระตำหนัก
4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน
ยกเว้น

คำสุภาพ
คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน


ข้อสังเกต
เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์
คำนาม
1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ
ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมวงศานุวงศ์
2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง
พระราชลัญจกร
พระราชประวัติ
พระราชดำริ
พระราชทรัพย์
3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง
พระเก้าอี้
พระชะตา
พระโรค
พระตำหนัก
4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน
ยกเว้น

คำกริยา

กริยา คำว่า “ทรง”
คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม
ทรงโค หมายถึง พระอิศวร
ทรงครุฑ หมายถึง พระนารายณ์

กริยา คำว่า “ทรง”
คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม
ทรงโค หมายถึง พระอิศวร
ทรงครุฑ หมายถึง พระนารายณ์
คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง
คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์ ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร หมายถึง ใส่บาตร
ทรงม้า หมายถึง ขี่ม้า
ทรงกรม หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร หมายถึง ใส่บาตร
ทรงม้า หมายถึง ขี่ม้า
ทรงกรม หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม
คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์
คำยืมในภาษาต่างประเทศ
- ความสัมพันธ์โดยทางถิ่นฐาน ได้แก่ ลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์ของผู้พูดภาษาทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน ประชาชนทั้งสองประเทศย่อมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ย่อมมีการแลกเปลี่ยนหรือใช้ภาษาร่วมกันได้ เช่น มอญ เขมร จีน
- ความสัมพันธ์ทางการค้า การเจรจาในเชิงธุรกิจหรือการโฆษณาสินค้าทุกประเภทจำเป็นต้องใช้ภาษา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีชนชาติอื่น ๆ เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้มีถ้อยคำในภาษาของชนชาตินั้น ๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก เช่น จีน มลายู โปตุเกส
- ความสัมพันธ์ทางการทูต การเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ในการอพยพโยกย้ายหรือในการติดต่อทางการทูต ย่อมทำให้ภาษาของเจ้าของถิ่นเดิมหรือผู้อพยพโยกย้ายมาใหม่นำมาใช้ร่วมกัน เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส
- ความสัมพันธ์ทางการวัฒนธรรมและศาสนา ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมนั้นสามารถไหลได้ สามารถถ่ายทอดให้กันและกันได้ ซึ่งส่วนมากแล้วประเทศที่มีวัฒนธรรมเจริญกว่าจะถ่ายทอดวัฒนธรรมไปยังประเทศที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า
- ความสัมพันธ์ทางการศึกษา จากการที่คนไทยเดินทางไปศึกษายังต่างไปเทศ ทำให้ คนไทยมีโอกาสได้ใช้และพูดภาษาอื่น ๆ จึงนำภาษามาใช้ในภาษาของตน ซึ่งการเดินทางไปต่างประเทศก็เช่นเดียวกันก็ย่อมมีโอกาสได้ใช้ภาษาต่างประเทศ
คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย สามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นราชาศัพท์ ราชาศัพท์ที่สร้างจากคำบาลีสันสกฤตมีมาก เช่น พระบรมราโชวาท พระราชเสาวนีย์ ในทางปฏิบัติ คำว่าราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คฤหัสถ์ใช้กับพระสงฆ์และพระสงฆ์ใช้ในหมู่พระสงฆ์กันเองด้วย เช่น อาพาธ มรณภาพ นมัสการ อีกทั้งยังหมายรวมถึงคำภาษาแบบแผนและคำสุภาพทั่ว ๆ ไปซึ่งใช้กับข้าราชการและสุภาพชนอีกด้วย (ราชบัณฑิตยสถาน. , 2546 , หน้า 952) แต่จะแยกกล่าวในข้อต่อ ๆ ไป
2. ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา ศัพท์เฉพาะเหล่านี้นิยมสร้างหรือยืมจากบาลีสันสกฤตเช่นกัน เช่น นิวรณ์ มุสาวาท โผฏฐัพพะ อิทธิบาท เวทนา
3. ใช้ในทางวรรณคดี ซึ่งใช้เฉพาะในร้อยกรอง โดยปรกติการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำมักเป็นไปเพื่อความเหมาะสมกับบทประพันธ์ ที่เรียกว่า การกลายเสียงโดยเจตนาด้วย เช่น เวหน สุริยง เกศา มยุเรศ มาลี ราษตรี
4. ใช้ในภาษามาตรฐานหรือใช้เป็นคำสุภาพ ใช้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น บิดา มารดา สามี ภริยา ภรรยา บุตร ธิดา ประสงค์ นาม
5. ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ แต่บางทีก็อาจมีการหาคำใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ในภาษาไทยมาใช้ก็ได้ เช่น เจตคติ นันทนาการ บรรยเวกษ์
6. ใช้เป็นคำสามัญ คือคำภาษาพูดที่ใช้สนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อายุ เศรษฐี โรค ปัญหา ภาษา ชาติ ประเทศ สัตว์ หิมะ เวลา อาหาร
7. ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ ตำนาน และเทพนิยายต่าง ๆ ชื่อสถานที่และอื่น ๆ เช่น ชื่อจังหวัด อำเภอ แม่น้ำ และภูเขา เป็นต้น
การสังเกตคำบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลี
|
ภาษาสันสกฤต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คำยืมจากภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- ส่วนมากมักใช้เป็นคําราชาศัพท์ เช่น เสวย เขนย ถวาย ขนง โปรด ตรัส เสด็จ ดําเนิน ทรงผนวช ประชวร บรรทม ธํามรงค์ ประทับ เพลา กันแสง สรง ฯลฯ
- คําเขมรที่ใช้ในคําสามัญทั่วไป เช่น กระบือ กระบาล โตนด โขมด จมูก เสนียด เพนียด ตํ าบล ถนน จังหวัด ทําเนียบ ลําเนา ชุมนุม ชมรม ฯลฯ
- คําเขมรที่เป็นคําโดดคล้ายกับภาษาไทย จนเราเองลืมไป คิดว่าเป็นคําไทย แต่มีที่สังเกตได้ว่าเป็นคำ เขมระต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข - ดวงจันทร์ บาย- ข้าว เมิล- มอง ศก- ผม ฯลฯ
สาเหตุที่ทําให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนในภาษาไทย
ภาษาเขมรเข้าสู่ภาษาไทยเพราะมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครอง และถิ่นฐานที่อยู่ แต่เดิม ดินแดนสุวรรณภูมินี้เป็นที่อยู่ของพวกมอญ ละว้า และเขมร เมื่อไทยอพยพมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้จึง ต้องอยู่ในความปกครองของขอมหรือเขมร ทําให้ต้องรับภาษาและวัฒนธรรมของขอมมาใช้ด้วยเพราะเห็นว่าขอมหรือเขมรเจริญกว่า จึงรับภาษาเขมรมาใช้ในรูปคําราชาศัพท์ และคําที่ใช้ในการประพันธ์
ข้อสังเกตคำที่มาจากภาษเขมร
1. มักสะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส เช่น
2. เป็นศัพท์พยางค์เดียวที่ต้องแปลความหมาย
3. เป็นศัพท์ที่ใช้พยัญชนะควบกลํ้า อักษรนำ
4. มักแผลงคำได้
ส่วนใหญ่ภาษาจีนที่ไทยนำมาใช้มักจะเป็นชื่ออาหาร รองลงไปก็เป็นชื่อที่ใช้ในการค้า ชื่อคน ภาษาจีนจัดเป็นภาษาคำโดดเช่นเดียวกับภาษาไทย นั่นคือคำส่วนมากมักเป็นพยางค์เดียว การเรียงลําดับในประโยคมักขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยาและกรรม มีลักษณนาม มีเสียงวรรณยุกต์ คําคําเดียวมีหลายความหมาย และมีการใช้คำซ้ำเหมือนกัน ต่างกันแต่วิธีขยายคำหรือข้อความ เพราะว่าภาษาไทยให้ขยายอยู่หลังคําที่ถูกขยาย แต่ภาษาจีนให้คําขยายอยู่หน้าคําที่ถูกขยาย การใช้คําภาษาจีนในภาษาไทย จีนใช้ภาษาหลายภาษา แต่ที่เข้ามาปะปนภาษาไทยมากที่สุดคือ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนจีนแถบซัวเถา คำที่รับมาใช้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาหารการกิน คำที่ใช้ ในวงการค้าและธุรกิจ และคําที่ใช้ในชีวิตประจําวันบ่อยๆ
สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทย
สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทยคือ เชื้อสายและการค้าขาย เพราะมีคนจีนเข้ามาอาศัย อยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีความผูกพันกันในด้านการแต่งงาน การค้าขายจึงรับภาษาจีนมาไว้ใช้ ในภาษาไทยจำนวนมาก ไทยรับภาษาจีนมาใช้โดยการทับศัพท์ ซึ่งเสียงอาจจะเพี้ยนจากภาษาเดิมไปบ้าง